แรงงาน
ALO ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน รวมถึงการจัดทำสัญญาจ้างงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นอกจากนี้เรายังให้คำแนะนำและแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อการเลิกสัญญาจ้าง และการจ่ายค่าชดเชย ระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ประกันสังคม เงินทดแทน การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์คำวินิจฉัยเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน เป็นต้น
ลักษณะบริการที่เกี่ยวข้อง
-
ที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน ประจำบริษัท
-
จัดทำร่างสัญญาจ้างหรือบันทึกข้อตกลงการจ้างทุกประเภท และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
-
จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย เช่น หนังสือบอกกล่าว สัญญาประนีประนอมยอมความ บันทึกข้อตกลง
-
ตรวจสัญญาจ้าง ข้อบังคับ หนังสือต่างๆเกี่ยวกับการจ้างหรือบอกกล่าว
-
การโอนย้ายลูกจ้างไปบริษัทในเครือ
-
การโอนย้าย/เลิกจ้างลูกจ้างกรณีปิดกิจการ
-
ฟ้องลูกจ้างให้รับผิด กรณีละเมิดบุคคลภายนอก / ทุจริตต่อหน้าที่ / ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
-
ฟ้องดำเนินคดีกับนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เรียกค่าเสียหาย ค่าสินไหมแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยตามกฎหมาย
-
เป็นตัวแทนลูกจ้างในการโต้แย้งสิทธิ
คดีแรงงาน
1. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
1.1 คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หมายถึง คดีฟ้องร้องระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้และ หมายถึง คดีที่ฟ้องร้องกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน
1.2 คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึง คดีที่ฟ้องร้องกันระหว่างนายจางและลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานโดยอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
2. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
3. กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
4. คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
5. คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ให้รวมถึงมูลละเมิดระหว่างลูกจ้างกับลูกจ้างจากการทำงานในทางการที่จ้างด้วย